คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหาร งานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาออกแบบ การวิจัยเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา ประชากร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่หนึ่ง คือ ครูผู้สอนโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม จำนวน 38 คนและกลุ่มที่สอง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับสนทนากลุ่ม จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานวิชาการ และ 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ ประชากร ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินความสอดคล้องของร่างรูปแบบ และ 2) แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบชั่วคราว ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพการบริหารงานวิชาการ และระยะที่ 4 ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ ประชากร ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินผลการใช้รูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
คลิกเพื่ออ่านงานวิจัยทั้งหมด >> การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมคุณภาพงานวิชาการโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ